การแลกเปลี่ยนแนวคิดครั้งนี้ถือว่าสอดคล้องกับการประมูลของประเทศไทยที่กำลังจะจัดให้มีการประมูลเกิดขึ้น โดยที่ผ่านมา กสทช.มีมติเห็นชอบ ร่างประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 700 MHz 1800 MHz 2600 MHz และ 26 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) ที่กำหนด วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นวันประมูล อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงคลื่นความถี่บางส่วนที่จะนำมาใช้ ในการประมูล ซึ่งอาจจะปรับคลื่น 26 GHz ออกจากแผนการประมูล แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องรอความชัดเจนหลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ในวันที่ 3 ธันวาคม ก่อน
"ตอนนี้ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนอะไร ต้องรอหลังประชาพิจารณ์ก่อน ส่วนคลื่นที่มีปัญหา อยู่อย่าง 2600 MHz ต้องทำความเข้าใจก่อนแยกออกเป็นเรื่องๆ คลื่นที่จะมาประมูล ก็เรื่องหนึ่ง ส่วนการเยียวยาก็เรื่องหนึ่ง บมจ.อสมท ที่เรียก ค่าเยียวยามากว่า 50,000 ล้านบาท มันขึ้นอยู่กับคณะอนุกรรมการพิจารณาการเยียวยา ตอนนี้ลดเหลือไม่ถึง 4,000-5,000 ล้านบาท" ฐากรกล่าว
นางสาวแอนนา เบคเคียส หัวหน้ากลุ่ม การวิเคราะห์การใช้คลื่นความถี่ The Swedish Post and Telecom Authority (PTS) หน่วยงานกำกับดูแลกรมไปรษณีย์โทรคมนาคมประเทศสวีเดน เปิดเผยว่า อุปสรรคของการประมูลคลื่น 5G คล้ายคลึงกับประเทศไทย ที่เปิดประมูลคลื่น 700 MHz ปีที่ผ่านมา มีโอเปอเรเตอร์ 3 ราย ที่ประมูลได้ไป รายที่ไม่ได้ตอนนี้ฟ้องศาล ซึ่ง 5G ในครั้งนั้นยังไม่ได้ เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์กับผู้ใช้ทั่วไป แต่เป็นการ เปิดให้บริการในอุตสาหกรรม